แนะนำวิธีลดค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้าน คุมงบประมาณให้อยู่หมัด
ใครที่กำลังวางแผนสร้างบ้านในปัจจุบัน อาจต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าเมื่อก่อนมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าการออกแบบบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง รวมไปถึงค่าดำเนินการเอกสารต่างๆ พูดได้ว่าแม้จะสร้างบ้านบนที่ดินตัวเอง ก็ต้องมีเงินก้อนโตสักก้อน หรืออาจต้องเลือกที่จะกู้สินเชื่อธนาคารแทน สิ่งหนึ่งที่หลายคนมักพบเจอเหมือนๆ กัน คือ งบประมาณที่บานปลาย ดังนั้น SC GRAND ขออาสามาแชร์ วิธีลดค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้าน ช่วยคุมงบประมาณไม่ให้เกินกว่าที่ตั้งใจเอาไว้ในตอนแรก
1. เลือกใช้วัสดุในสเปคที่จำเป็น
แน่นอนว่าในการสร้างบ้านให้ตัวเอง หรือสร้างบ้านให้พ่อแม่อาศัยอยู่ ทุกคนล้วนต้องการใช้วัสดุในเกรดที่ดีที่สุด บางคนอาจมองวัสดุเกรดพรีเมียมเป็นอันดับแรก เพราะต้องการความทนทานในระยะยาว แต่วัสดุในสเปคเหล่านี้อาจต้องแลกมาด้วยต้นทุนที่สูงอย่างมาก
ทางเลือกที่ดีในการคุมงบประมาณสร้างบ้าน คือ ให้เลือกวัสดุสำหรับใช้ตามจุดต่างๆ ของบ้านต่างกัน เช่น หน้าบ้านที่ต้องการความสวยงามก็สามารถปูกระเบื้องหรือคอนกรีตพิมพ์ลายได้เลย ส่วนพื้นที่หลังบ้าน หรือโซนซักล้างที่ต้องเจอความสกปรกตลอดเวลา ก็สามารถเลือกทำแค่ผนังปูนเปลือย หรือพื้นขัดมัน เป็นต้น ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ในระดับหนึ่ง
2. สร้างบ้านให้เหมาะสมกับพื้นที่
สำหรับผู้ที่วางแผนสร้างบ้านบนที่ดินตัวเอง อาจคิดจะวางแปลนบ้านหลังใหญ่แบบเต็มทั้งพื้นที่ แต่การขยายบ้านให้ใหญ่เต็มพื้นที่ อาจหมายถึงงบประมาณตั้งต้นที่สูง และสามารถเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา ซึ่งส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในที่สุด ทางที่ดี ขอแนะนำให้สร้างบ้านเพียง 2 ใน 4 หรือ 3 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมด
ส่วนเนื้อที่ที่เหลือ เจ้าของบ้านสามารถนำไปต่อยอดเป็นสวนปลูกต้นไม้ ปลูกผักสวนครัว หรือเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ไว้ทำกิจกรรมต่างๆ สำหรับครอบครัว พูดได้ว่านอกจากจะลดงบประมาณในการสร้างบ้านแล้ว ยังมีพื้นที่ไว้ทำอย่างอื่นได้อย่างอิสระอีกด้วย
3. วางแปลนบ้านอย่างรอบคอบ
นอกจากเรื่องของวัสดุและขนาดบ้านแล้ว การวางแปลนบ้านก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาการสร้างบ้านโดยรวม ให้ลองไตร่ตรองดูว่าเราสามารถลดทอนหรือปรับเปลี่ยนส่วนไหนได้บ้าง โดยหลักๆ แล้ว ควรเน้นห้องหรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น จากนั้นให้เลือกตัดส่วนอื่นๆ ที่ไม่จำเป็น เช่น พื้นที่ห้องอาหารสามารถรวมเข้ากับห้องครัวได้ หรือหากพื้นที่ชั้น 2 มีจำกัด อาจเลือกสร้างห้องนอนที่มีห้องน้ำในตัวแทนการแยกห้องออกจากกัน เป็นต้น
4. ออกแบบเน้นแสงและลมธรรมชาติ
ในเมืองที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปี แน่นอนว่าทุกคนที่สร้างบ้านอยากให้บ้านเย็น และถ่ายเทอากาศได้ดีที่สุด อีกทั้งต้องดูโปร่งโล่ง ไม่มืดทึบจนเกินไป ซึ่งเป็นหัวใจหลักของบ้านโมเดิร์นในยุคนี้ แต่การออกแบบบ้านให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่กล่าวไปนั้นไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุราคาแพงแต่อย่างใด เพียงแค่ศึกษาทิศทางลมและแสงแดดเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
โดยการหันทิศทางของบ้านเพื่อให้รับลมและหลบแดดให้ได้มากที่สุด ส่วนมากมักนิยมหันหน้าบ้านไปทางทิศเหนือและทิศใต้เป็นหลัก ซึ่งจะทำให้หน้าบ้านและหลังบ้านรับแดดน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการหันหน้าบ้านไปทางทิศตะวันออกหรือตะวันตก บ้านจึงเย็นตลอดทั้งวันโดยไม่ต้องติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคามากเกินจำเป็น
5. ลอง DIY เฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน
บ่อยครั้ง การนำเฟอร์นิเจอร์เข้าบ้านอาจเป็นขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายสูงเลยทีเดียว โดยเฉพาะการสั่งผลิตเฟอร์นิเจอร์พิเศษให้ได้ขนาดพอดีกับพื้นที่ หรือการให้ทีมมัณฑนากรเข้ามาดีไซน์เฟอร์นิเจอร์ภายใน สำหรับวิธีการลดงบประมาณส่วนนี้ เบื้องต้นอาจนำเฟอร์นิเจอร์เหลือใช้จากบ้านหลังเดิม ส่วนอีกวิธีหนึ่ง คือ ให้ลอง DIY ทำเฟอร์นิเจอร์ใหม่ขึ้นมา เพียงลองนำวัสดุเหลือใช้จากการก่อสร้างอย่างไม้ ผ้า หรือ เบาะมาปรับปรุงให้เป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหม่ได้แล้ว
เพียงลองทำตามวิธีลดค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้านที่ได้แนะนำไปนี้ ก็สามารถลดงบประมาณลงไปได้มากแล้ว ส่วนอีกวิธีหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก คือ การว่าจ้างบริษัทรับสร้างบ้านเข้ามาดูแลโครงการทั้งหมด ตั้งแต่การยื่นเอกสาร ก่อสร้าง และออกแบบภายใน นอกจากจะช่วยประหยัดเวลาแล้ว ยังทำให้การประสานงานเป็นไปอย่างง่ายดาย หมดกังวลเป็นปลิดทิ้งได้เลย
สร้างบ้านสไตล์โมเดิร์นกับ SC GRAND
SC GRAND คือ บริษัทรับสร้างบ้านแบบครบวงจร มีทีมสถาปนิกและวิศวกรผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ มีแบบบ้านให้เลือกหลากหลาย ทั้งบ้าน 2 ชั้น 3 ห้องนอน และอื่นๆ เหมาะกับที่ดินหลากหลายขนาด อีกทั้งสามารถปรับเปลี่ยนการออกแบบได้ตรงความต้องการ มั่นใจด้วยประสบการณ์กว่า 60 ปี และการรับประกันโครงสร้างนานถึง 20 ปี เราพร้อมตอบโจทย์การสร้างบ้านให้ตรงทุกความต้องการ
สามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการสร้างบ้านได้ทาง
Email: info@scgrand.co.th
ติดต่อสอบถามได้ทางเบอร์โทร: 02-066-6663, 065-575-1555
สำหรับช่องทางออนไลน์สามารถติดตามได้ที่: Facebook, YouTube, LINE OA
ใส่ความเห็น